ผู้มีส่วนได้เสีย

การจั...

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Value Chain)

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียหลักในกิจกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียหลักทุกภาคส่วน

การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

การบริหารจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวองค์กรเองเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจของกลุ่มบริษัทประกอบด้วยกิจกรรมบนห่วงโซ่คุณค่า 2 ประเภท ดังนี้

 1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ซึ่งเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องตามบริบทการดำเนินธุรกิจ

 2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) คือ กิจกรรมที่สนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนให้กิจกรรมหลักบรรลุเป้าหมาย และดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

  • โครงสร้างพื้นฐาน (Firm Infrastructure) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไปในองค์กร โครงสร้างขององค์กร การวางแผน และการจัดทำระบบงานต่าง ๆ เช่น การควบคุมคุณภาพ ระบบบัญชีและการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทได้นำกรอบการบริหารความเสี่ยงเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยนำมาตรฐานสากล COSO เข้ามาใช้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ บริษัทจึงให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดจ้างพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ การบริหารค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขันและจูงใจพนักงานได้ การส่งเสริมให้พนักงานได้รับการอบรมพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้โอกาสในการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ การดูแลเอาใจใส่ และการสร้างขวัญกำลังใจ การปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพันกับบริษัท และทุ่มเทสร้างสรรค์ พัฒนางาน การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
  • การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสินค้าและบริการ (Technology Development) เป็นการปรับปรุงกระบวนการ การให้บริการโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป
  • การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ด้วยความโปร่งใส ให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทคู่ค้า